ฟิล์ม ฟิล์มกรองแสงทำมาจากอะไร?ฟิล์มเป็นพลาสติกชนิดโพลีเอสเตอร์ชนิดหนึ่งแต่แตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีการผลิต
ฟิล์มดำ ฟิล์มปรอทแตกต่างกันอย่างไร?ฟิล์มดำ มักใช้เป็นฟิล์มแถม ราคาถูก เนื้อฟิล์มบาง กรองแสงและลดความร้อนได้ตามความเข้มในส่วน
ที่ตามองเห็นเท่านั้น ส่วนรังสีอินฟาเรด (IR) ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เราร้อนนั้นทะลุผ่านได้ถึง 90% เราจึงร้อน
ฟิล์มปรอท หรือฟิล์มลดความร้อน เป็นฟิล์มที่มีชั้นโลหะเคลือบอยู่ภายใน เช่น อลูมินัม นิเกิ้ล ฯลฯ
ชั้นฟิล์มจึงหนากว่า สะท้อนความร้อนได้มากกว่า และยังมีความสวยงามเนื่องจากคุณสมบัติของโลหะ มีความเงาในตัว
ส่วนรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตที่มีอันตรายต่อผิวหนัง อันเป็นสาเหตุให้เกิดฝ้าและมะเร็งผิวหนัง ตลอดจนทำให้สิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ มีสีซีดจางและแห้งกรอบนั้น มีเพียง 3 % ซึ่งฟิล์มกรองแสงโดยทั่วไปป้องกันได้เกือบหมดอยู่แล้ว
ฉะนั้นในการพิจารณาว่าฟิล์มใดลดความร้อนจากแสงแดด (Total Solar Energy Rejected) ได้มากหรือน้อย จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบโดยรวมข้างต้นด้วย
ข้อควรปฎิบัติในการดูแลรักษาฟิล์มกรองแสง1. ห้ามเลื่อนกระจกขึ้น - ลง หรือ เช็ด ถูฟิล์ม ภายใน 7 วัน หลังจากติดตั้ง เนื่องจากฟิล์มยังมีความชื้น
ซึ่งจะระเหยหมดไปเอง
2. หากมีปัญหาอื่นใด เช่น มีฟองอากาศ หรือ ฟิล์มอ้า ฯลฯ ให้รีบติดต่อศูนย์บริการภายในระยะเวลารับประกัน
3. ในการทำความสะอาดฟิล์ม ควรใช้ผ้าสะอาด ผ้านุ่มหรือฟองน้ำ ร่วมกับน้ำยาทำความสะอาดฟิล์ม เพื่อกำจัดคราบมัน
4. ห้ามใช้น้ำยาเช็ดกระจกหรือสารเคมีที่มีส่วนประกอบของแอมโมเนีย (NH4) เพราะอาจทำให้ ชั้นกันรอยของฟิล์มเสียหายได้
ตลาดฟิล์มกรองแสงไทยเป็นเมืองร้อน มีแสงแดดจัดจ้าน ทั้งแสบตาทั้งร้อนแรง ทำให้ห้องโดยสารร้อน และระบบปรับอากาศทำงานหนัก ผู้จำหน่ายส่วนใหญ่จึงแถมฟิล์มกรองแสงมาให้ เพราะต้นทุนต่ำ แต่ผู้ซื้อชอบจนน่าจะกลายเป็นมาตรฐานของการขายรถใหม่ในไทยไปแล้ว
ในปัจจุบัน ในตลาดมีฟิล์มกรองแสงสารพัดยี่ห้อ แตกต่างทั้งราคา และคุณภาพ โดยมีการปั่นราคาสร้างภาพเกินจริงในหลายยี่ห้อ จึงทำให้ไม่สามารถสรุปได้ว่า ยี่ห้อที่มีราคาแพง จะมีคุณภาพดีกว่ายี่ห้อที่มีราคาถูกเสมอไปเช่น ยี่ห้อ A ราคาพร้อมติดคันละ 3,000 บาท ส่วนยี่ห้อ B ราคา 6,000 บาท แพงกว่ากันเท่าตัว แต่อาจทนทาน มีการกรองแสง และกรองความร้อนดีกว่านิดเดียวเท่านั้น ไม่ได้เด่นกว่าเป็นเท่าตัวเหมือนราคาก็เป็นได้ ในตลาด จึงมีฟิล์มกรองแสงราคาแพงที่สร้างภาพได้ดี จนสามารถตั้งราคาได้แพงเกินคุณภาพในหลายยี่ห้อ
ฟิล์มกรองแสงบางยี่ห้อ ก็เน้นราคาถูกไว้ก่อน ทำตลาดด้วยการตัดราคา และลดคุณภาพลงไป เช่น เน้นทึบแสง กรองแสงดี แต่กรองความร้อนไม่ดี ทัศนะวิสัยแย่ เพราะมองทะลุไม่ดี หรือหลอกตา ซึ่งอาจเกิดอันตรายในการขับขี่ได้ รวมทั้งไม่ทนทาน ใช้ได้แค่ 1-2 ปีก็เริ่มเสื่อมสภาพ ฟิล์มกรองแสงบางยี่ห้อสามารถติดตั้งทั้งคันในราคาแค่ประมาณ 1,000 บาทเท่านั้น
หากเป็นเงื่อนไขของผู้ขายว่า จะแถมการติดฟิล์มกรองแสงให้ฟรี ควรตรวจสอบรานละเอียดให้ดีว่า เป็นฟิล์มกรองแสงยี่ห้อใด รุ่นใด มีตัวอย่างหรือไม่ ไม่ใช่บอกลอย ๆ ว่าจะเอาจะเอาทึบกี่เปอร์เซ็นต์ ควรเลือกยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ ถ้าทราบถึงร้านติดตั้งด้วยก็ดี เพราะฟิล์มกรองแสงที่ติดมาเสร็จแล้ว จะทราบยี่ห้อได้ยาก ซึ่งหากไม่สะดวกในการติดตามไปดู ฟิล์มกรองแสงยี่ห้อดัง ๆ มักจะมีใยรับประกันคุณภาพ ซึ่งระบุร้านติดมาให้ด้วย
การเลือกฟิล์มกรองแสงควรทราบไว้ว่า คุณภาพการกรองแสงกับการกรองความร้อนแตกต่างกัน ฟิล์มกรองแสงที่กรองแสงได้มาก อาจกรองความร้อนได้น้อย หรือฟิล์มกรองแสงใด ๆ กรองแสงได้น้อย แต่อาจกรองความร้อนได้ดีกว่าก็เป็นได้
วิธีการดูแลฟิล์มกรองแสงหลังติดตั้งโดยทั่วไปวิธีการติดตั้งฟิล์มกรองแสงจะต้องใช้น้ำผสมกับแชทพูแบบอ่อนๆ ฉีดลงไปบนด้านแผ่นกาวของฟิล์มและกระจกที่จะติดตั้งเพื่อช่วยให้ขยับฟิล์มให้เข้าที่แล้วจึงรีดน้ำและอากาศออกด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ ดังนั้นภายหลังจะพบว่าจะมีคราบน้ำขัง , กระจกมัว หรือเป็นฝ้าที่กระจก ก่อนที่อาการเหล่านี้จะหายไปเอง ภายในเวลา 1-4 สัปดาห์
เมื่อฟิล์มแห้งสนิทและกาวทำงานอย่างเต็มที่แล้วในการยึดติดกระจก ควรปฎิบัติดังนี้. ห้ามเลื่อนกระจกขึ้น - ลงเป็นเวลา 7 วัน หลังจากติดตั้งฟิล์ม เพื่อให้ฟิล์มอยู่ตัว
. ระยะเวลาในการอยู่ตัวของฟิล์มจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของฟิล์มที่ติดตั้ง อุณหภูมิและความชื้นในอากาศ คราบความชื้นที่อยู่ระหว่างกระจกกับฟิล์ม อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างนี้แต่จะแห้งและหายหมดไปเอง
. งดใช้ระบบละลายฝ้าที่กระจกหลังเป็นเวลา 30 วัน หลังจากติดตั้งฟิล์มเพราะจะทำให้ฟิล์มเกิดการเสียหายได้
. ห้ามใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ , ผ้าหยาบ , ขนแปรง , สก็อตไบร์ท หรือวัสดุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ฟิล์มได้
. ห้ามเช็ดล้างด้วยน้ำยาล้างกระจกที่มีส่วนผสมของสารแอมโมเนียเช็ดทำความสะอาดฟิล์มโดยเด็ดขาด
. หากต้องการทำความสะอาดฟิล์ม ให้ใช้ผ้านุ่น และน้ำหรือน้ำสบู่อ่อนๆ เช็ดทำความสะอาดฟิล์ม ซึ่งจะช่วยทำให้เนื้อฟิล์มใสและรักษาเนื้อฟิล์มได้ดี
. ก่อนเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง ควรตรวจสอบเสมอว่าในผ้าหรือทิชชูใดๆที่ใช้ ไม่มีผงฝุ่นหรือเม็ดทรายในผ้า เพราะจะทำให้คุณสมบัติของสารเคลือบฟิล์มเสียหายหรือลดคุณภาพได้
. ควรจอดรถตากแดดหลังจากติดตั้งฟิล์ม เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15-21 วันเพราะจะช่วยให้กาวในเนื้อฟิล์มแห้งเร็วขึ้น
เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราแน่ใจได้ว่า เราได้ฟิล์มติดรถยนต์ที่มีคุณภาพ และทราบการดูแลรักษากระจกรถอย่างถูกวิธี เพราะในการดูแลเอาใจใส่ฟิล์มติดรถยนต์ที่ติดตั้งมาใหม่อย่างถูกวิธีนั้น จะทำให้ฟิล์มที่เราติดตั้งมานั้นอยู่คู่กับรถไปได้ทนทานนาน 7-10 ปีทีเดียว
การทดสอบฟิล์มกรองแสงระดับการทดสอบคุณสมบัติของฟิล์มกรองแสง และฟิล์มประเภทอื่นๆ โดยทั่วไปทำกัน 2 ระดับ คือ
1. ระดับทอดสอบทางห้องปฏิบัติการ(Laboratory Test): การทดสอบในระดับนี้ สามารถทำได้กับทุกคุณสมบัติของแผ่นฟิล์มทั้งทางด้านแสง (Optical Properties) และด้านกายภาพ (Physical Properties) ด้วยมาตรฐานและวิธีการทดสอบตามสถาบันต่างๆ เช่น ASTM,JIS,ANSI เบื้องต้นการทดสอบก็จะทำในกลุ่มของโรงงานผู้ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งห้องแลบที่อยู่ในประเทศไทย เช่น กรมวิทยาศาสตร์บริการ(กระทรวงวิทยาศาสตร์) หน่วยงานทดสอบของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เป็นต้น หรือตามห้องแลยที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก เช่น PSB LAB ประเทศสิงคโปร์,Intertek Testing Service ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อทดสอบจนได้ผลแล้วผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการก้สามารถนำมาใช้อ้างอิงกับสินค้ารายการนั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามสินค้าที่ผลิตออกมาจะได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ในการทดสอบหรือไม่ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของการผลิตและการควบคุมคุณภาพการผลิต(QC) ของโรงงานนั้นๆเป็นสำคัญ
2. ระดับทดสอบของผู้ประกอบการ(Commercial Test): การทดสอบในระดับนี้ สามารถทำได้โดยผู้นำเข้า,ผู้ให้บริการ,ผู้จัดจำหน่ายก็ได้ โดยใช้เครื่องทดสอบ(Meter) ตามทที่ผู้เชี่ยวชาญของการผลิตเครื่องได้สร้างขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเครื่องมือที่จะนำมาทดสอบคุณสมบัติได้ทุกตัว และเครื่องมือทอดสอบจะต้องเป็นเครื่องมือที่ได้มาตรฐานในการวัดที่ถูกต้อง หรือผ่านการสอบเทียบ(Calibration) กับหน่วยงานหรือราชการที่เชื่อถือได้เสียก่อนจึงจะเป็นการดี ในระดับนี้ ปัจจุบันมีเครื่องมือทดสอบคุณภาพของฟิล์มกรองแสงให้เลือกใช้กันอย่าพอสมควร เช่น การทดสอบค่าการผ่านของแสงสว่าง(Visible Light Transmittion) ค่าการผ่านของรังสีอุลตร้าไวโอเลต(Ultra Violet Trasmittion) ค่าการผ่านของคลื่นรังสีอิฟราเรด(Infrared Light Transmittion) ค่าการสะท้อนของแสง (Visible Light Reflectance) หรือบางเครื่องก็มีความสามารถในการวัค่าของแสงที่ผิวฟิล์มได้ทั้งหมด เรียกว่า Photometer
http://www.filmthai.com/
